Menu Close

เรียนออนไลน์ “Online Classes”

ตั้งแต่โคโรน่าไวรัส หรือ COVID-19 อุบัติขึ้นเมื่อปลายปี 2019 ที่มณฑลฮูเป่ยประเทศจีนเกิดการระบาดอย่างรุนแรงในประเทศจีนและขยายวงไปยังประเทศอื่นๆในทวีปเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เป็นต้น จากนั้นการระบาดได้ขยายวงกว้างไปสู่ทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสมีมากกว่า 2 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน ซึ่งส่งผลกระทบแก่เพื่อนมนุษย์ทั่วโลกในทุกๆด้าน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องเปลี่ยนไปจากมาตรการ Lockdown ของหลายๆประเทศ เช่น การทำงานจากบ้านแทนการเดินทางไปสำนักงาน, ประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้านตั้งแต่ 4 ทุ่มถึงตี 4 วันถัดไป, เลื่อนเวลาการเปิดเทอมของโรงเรียน, รัฐบาลบ้างประเทศสั่งให้โรงเรียนเปิด เรียนออนไลน์ “Online Classes”, การสั่งปิดสถานบริการหลายๆประเภท, ยุติการแข่งขันกีฬาหลายๆประเภทชั่วคร่าว เป็นต้น

จากมาตรการดังกล่าวก็เพื่อจะลดการพบเจอกันของผู้คนเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อระหว่างกัน หากมีความจำเป็นต้องไปทำธุระหรือซื้ออาหารก็ต้องใช้มาตรการ Social Distancing คือการรักษาระยะห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตรในขณะที่อยู่ในสถานที่เดียวกัน จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นผลกระทบที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ส่วนประเด็นที่เราจะเขียนถึงคือผลกระทบต่อระบการศึกษาของประเทศไทย ผลกระทบดังกล่าวทำให้มีการสั่งปิดสถานประกอบการประเภทโรงเรียนกวดวิชาและให้โรงเรียนทั่วประเทศเลื่อนเปิดเทอมออกไป ถ้าสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ยังไม่สามารถควบคุมได้ในระยะอันใกล้นี้ ทางกระทรวงศึกษาอาจจะต้องนำเอาระบบการศึกษาทางไกลหรือห้องเรียนออนไลน์มาใช้เต็มรูปแบบกับโรงเรียนในสังกัดทั้งหมดเพื่อให้การเรียนการสอนไม่ขาดตอน

การเรียนออนไลน์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เราคงเคยได้ยินเกี่ยวกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูสอนไม่ตรงวิชาเอกโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กในท้องถิ่นชนบทห่างไกล โดยเริ่ม การถ่ายทอดสดจากโรงเรียนไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์สอนตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 6 ช่องสัญญาณ นั้นคือจุดเริ่มต้นการสอนของโรงเรียนทางไกลหรือ เรียนออนไลน์ “Online classes” ในประเทศไทย

แต่นั้นเป็นระบบถ่ายทอดสดไปสู่ห้องเรียนยังไม่ใช่การสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต องค์กรที่เริ่มต้นการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยที่นักเรียนจะเรียนจากบ้านหรือสถานที่อื่นที่ไม่ใช่ห้องเรียนคือสถาบันกวดวิชาโดยใช้แอพพลิเคชั่นที่หลากหลายต่างกัน เช่น Facebook, YouTube, Skype เป็นต้น ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมาก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 โรงเรียนกวดวิชาหลายแห่งได้เริ่มใช้การสอนออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตแทนการสอนในห้องเรียนเพราะมีต้นทุนที่ถูกกว่ามากเช่น ไม่ต้องเสียค่าเช่าสถานที่, ค่าน้ำค่าไฟและนักเรียนไม่ต้องเดินทาง และตัวเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตพัฒนาจนทำให้สามารถส่งถ่ายข้อมูลไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เช่น รูปภาพ, วิดีโอ, เอกสาร ได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น

การสอนผ่านอินเตอร์เน็ตของโรงเรียนกวดวิชาสามารถเริ่มดำเนินการได้รวดเร็วกว่าโรงเรียนในระบบเพราะเจ้าของกิจการเป็นเอกชนและจำนวนเจ้าหน้าที่ก็น้อยกว่าทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงระบบการสอนจึงทำง่ายกว่า นอกจากนั้นการสอนจะเน้นเรื่องการทำข้อสอบหรือสรุปเนื้อหาที่เข้มข้นไม่เหมือนโรงเรียนในระบบที่จะต้องสอนแบบปูพื้นฐานครอบคลุมเนื้อหาขอทุกๆวิชาดังนั้นชั่วโมงการสอนของโรงเรียนกวดวิชาจึงสั้นกว่าโรงเรียนในระบบมาก

เมื่อสถานการณ์ทำให้โรงเรียนในระบบและครูผู้สอนทั้งหลายต้องปรับตัวกับการสอนออนไลน์จะต้องเริ่มต้นยังไงและเตรียมการสอนแบบไหนให้เข้ากับเทคโนโลยีที่ทางกระทรวงศึกษาธิการจะนำมาใช้ สิ่งแรกเลยคือเลือกใช้โปรแกรมการเรียนออนไลน์ “Online Meeting Application” ซึ่งมีอยู่มากมายหลายค่ายด้วยกัน เช่น ZOOM, Hangout, Skype, Meet, Google Classroom นอกจากนั้นทาง สพฐ. เองได้จัดทำ Application OBEC Content Center ซึ่งจะเริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดย Application ดังกล่าวเป็นการรวบรวมข้อมูลเนื้อหาการจัดการเรียนการสอนทั้งหมดของครู โดยให้ครูและนักเรียนดาวน์โหลดดูเนื้อหาการเรียนการสอนได้ผ่าน Application นี้ทางสมาร์ทโฟนและเว็บไซต์ของ สพฐ.

แต่เมื่อต้องสอนผ่านอินเตอร์เน็ตสิ่งที่โรงเรียนรัฐบาลจะต้องเจออย่างแน่นอนคือจำนวนนักเรียนที่มากต่อหนึ่งห้องเรียนและนักเรียนนั่งเรียนจากบ้านของตนเองซึ่งครูผู้สอนจะต้องเจอปัญหาการควบคุมนักเรียนให้มีสมาธิกับเรียนเนื่องจากมองเห็นแค่หน้าของนักเรียนขณะเดียวกันก็ต้องสอนและใช้สื่อต่างๆไปด้วยและร้อยละ 70 ครูในโรงเรียนรัฐบาลไม่เคยผ่านการอบรมการสอนผ่านอินเตอร์เน็ตโดยที่นักเรียนไม่ได้เรียนที่โรงเรียน

แต่การเรียนการสอนออนไลน์เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อครูผู้สอนและนักเรียนเริ่มตั้งแต่บรรยากาศจะเปลี่ยนไปเมื่ออยู่ที่บ้านไม่ใช่ห้องเรียนจึงไม่มีสภาวะบังคับให้ตั้งใจเรียนตรงนี้ขึ้นอยู่กับนักเรียนว่ามีวินัยมากน้อยแค่ไหนส่วนครูผู้สอนต้องเตรียมเนื้อหาการสอนให้ดึงดูดความสนใจจากนักเรียนมากกว่าสอนในห้องเรียนปกติ เพราะครูจะเห็นแค่หน้านักเรียนอยู่หน้าจอโดยไม่รุ้เลยว่านักเรียนทำอะไรอย่างอื่นหรือเปล่า

มาทำความเข้าใจกับโครงสร้างและองค์ประกอบของการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบันว่ามีอะไรบ้างและแต่ละส่วนทำงานอย่างไร ส่วนแรกคือ Video Conference Application หรือ แอพพลิเคชั่นประชุมผ่านออนไลน์ นอกจากการแสดงหน้าจอของผู้ร่วมประชุมทุกคนแล้วยังมีการแชร์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆเช่น สไลด์, รายงาน, รูปถ่าย, กราฟสถิติต่างๆ และบ้างแอพพลิเคชั่นที่ออกแบบให้มีหน้าจอที่สามารถเขียนหรือวาดรูปลงไปได้ ณ ปัจจุบันแอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีแบบใช้ฟรีจำกัดเวลาและต้องจ่ายค่าบริการ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะค่ายไหนที่ตอบโจทก์มากที่สุด

ส่วนที่สองคือครูและนักเรียนโดยครูจะเป็นผู้สร้างห้องเรียนขึ้นมาและส่งลิงก์ไปให้นักเรียนเพื่อล็อกอินเข้าห้องเรียนและครูจะทำหน้าที่สอนและแสดงสื่อการสอนต่างให้นักเรียนได้เรียนนอกจากนั้นครูสามารถอนุญาตให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเขียนคำตอบลงบนสื่อหรือวาดรูปก็ได้ ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีทันสมัยแค่ไหนก็ยังมีข้อจำกัดอีกมากโดยเฉพาะบรรยากาศที่บ้านจะทำให้นักเรียนเสียสมาธิในการเรียนง่ายกว่าไม่เหมือนห้องเรียนจริงๆ

มีข้อมูลทางสถิติของโรงเรียนกวดวิชาว่านักเรียนจะตั้งใจเรียนออนไลน์ได้ประมาณ 40-50 นาทีแม้ว่าเนื้อหาจะดึงดูดความสนใจหรือน่าเรียนเพียงใด เมื่อผ่านระยะเวลาดังกล่าวไปนักเรียนจะขาดสมาธิต่อการเรียน ดังนั้นนอกจากเนื้อหาต้องไม่น่าเบื่อแล้วต้องกระชับและได้ใจความ ในส่วนของอุปกรณ์และสื่อการสอนต่างๆต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าจะใช้ตอนไหนและแบบไหนในละวิชา ควรเริ่มเติมเรื่องสีสันหรือกราฟฟิกต่างๆลงไปในสื่อการสอนเพื่อเกิดความน่าสนใจ

และสุดท้ายครูจะต้องมีหัวใจของความป็นครู ต้องเข้าใจและเข้าถึงนักเรียนเพราะเด็กมีความแตกต่างไม่เหมือนกัน ต้องรู้จริงเรื่องเนื้อหาของวิชาที่จะสอน ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและเนื้อหาของวิชาที่เปลี่ยนไป ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังความคิดเห็นของนักเรียนซึ่งจะทำให้ครูเข้าถึงเด็กได้มากขึ้น การสอนออนไลน์จำเป็นที่จะต้องได้ครูสอนที่ใช่หรือครูต้องฝึกฝนตนเองให้เข้ากับการสอนออนไลน์ “Put the right man to the right job” or “Make yourself to be the right man”

COVID-19 may change your daily life forever however your children still need school and all the knowledge to make a living.  Do not hesitate with the new way of learning it might be the key to your children success.  “PLEASE DO NOT GIVE UP”

ในต่างประเทศหลายประเทศมีคำสั่งจากรัฐบาลให้โรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยปิดทำการเรียนการสอนและให้เด็กเรียนออนไลน์จากบ้านจนสิ้นสุดปีการศึกษา 2020 และคำสั่งนี้รวมไปถึงสถาบันภาษาที่มีนักเรียนต่างชาติเรียนอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งนักเรียนต่างชาติจำนวนมากไปประสงค์เดินทางกลับประเทศทำให้สถาบันภาษาหลายแห่งเริ่มเปิดการสอนออนไลน์ในช่วงเวลาของการระบาด WALS Education จะขอแนะนำสถาบันภาษาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและมีมาตราฐานในการจัดการสอนออนไลน์ ได้แก่ FLS International USA, LSI UK หากท่านต้องการข้อมูลกรุณาติดต่อ WALS Education

Posted in เรียนภาษาอังกฤษ