นักเรียนหลายๆคนอยากไป – เรียนต่อมัธยมปลาย High School USA เรามีข้อแนะนำให้เริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของโรงเรียนและที่พักที่เราชอบและตรงกับความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง รวมไปถึงเมืองและสภาพอากาศที่นักเรียนชอบและจะสามารถปรับตัวได้ดีเมื่อมีข้อมูลตรงนี้สามารถนำไปสู่การเลือกโรงเรียนที่เหมาะสมเพื่อบุตรหลานของท่านสามารถเรียนหนังสืออย่างมีความสุขในขณะที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเพราะการไปเรียนระดับมัธยมปลายจะใช้เวลา1-3 ปีจนจบการศึกษาสิ่งแวดล้อมต่างๆจะมีผลต่อนักเรียนโดยตรงหากได้โรงเรียนที่ไม่ดีหรือที่พักไม่เหมาะสมจะทำให้ประสิทธิการเรียนของนักเรียนลดลงอาจจะทำเกิดความรู้สึกไม่อยากเรียนต่อแล้วแต่ต้องการกลับประเทศไทยแทน เรียนต่อมัธยมปลาย High School USA ไม่ยุ่งยากแต่ต้องเตรียมความพร้อม ถ้ามีความพร้อมเวลาเดินไปที่อเมริกาถ้าเกิดปัญหาก็จะแก้ไขได้ไม่ยากหรืออาจจะไม่เกิดปํญหาเลย
ข้อมูลด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
สิ่งแรกควรหาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศสิ่งแวดล้อมและเชื้อชาติของประชากรในเมืองที่อยากไป ยกตัวอย่าง ไม่ชอบอากาศหนาวและอยากอยู่เมืองที่มีวัฒนธรรมและประชากรหลากหลายเชื้อชาติก็ให้หาโรงเรียนจากเมืองที่ตั้งอยู่ในมลรัฐที่ติดกับชายฝั่งทะเลและอยู่ทางใต้ของประเทศเช่น Los Angeles, Miami, Houston แต่ถ้าชอบอากาศหนาวและประชากรหลากหลายเชื้อชาติก็เลือกโรงเรียนตอนเหนือของประเทศ เช่น New York, Boston, Seattle เป็นต้น
ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนและที่พัก
ต่อมาให้หาข้อมูลเรื่องโรงเรียนว่าอยากเรียนโรงเรียนเอกชนหรือรัฐบาลเพราะมีข้อจำกัดหรือข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ที่ชัดเจนที่สุดคือนักเรียนต่างชาติ (International Students) สามารถสมัครเข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาลได้เพียง 1 ปีการศึกษาเท่านั้นยกตัวอย่าง สมัครเรียนชั้น ม.5 (Grade 11) โรงเรียนรัฐบาลหลังจบชั้น ม.5 ต้องย้ายไปเรียนต่อ ม.6 (Grade 12) ที่โรงเรียนเอกชนแทนยกเว้นสมัครมาเรียนชั้น ม.6 ตั้งแต่แรก หรือ สมัครเรียนเอกชนตั้งแต่ ม.4-ม.6 เลยขึ้นอยู่กับงบประมาณของแต่ละครอบครัว เพิ่มเติมเรื่องโรงเรียนเอกชนทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภทในสหรัฐอเมริกา
- เอกชนแบบไปกับเช้า-เย็น (Private Day School-Homestay)
- เอกชนแบบอยู่หอพัก (Private Boarding)
ข้อมูลเรื่องโรงเรียนและที่พักมีความสำคัญมากเพราะนักเรียนจะต้องใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลานาน ถ้าได้โรงเรียนและที่พักที่ดีและเหมาะสมกับนักเรียนจะทำให้ผลการเรียนดีแน่นอน
ข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย
ข้อมูลเรื่องนี้สำคัญมากทางผู้ปกครองจะต้องเลือกโรงเรียนและที่พักให้เหมาะกับรายได้ต่อปีของผู้ปกครองว่าเพียงพอกับค่าเทอม, ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายประจำวัน รวมไปถึงเงินสำรองกรณีฉุกเฉินทุกกรณี เช่น ค่าใช้จ่ายตลอดปี $20,000 ก็ควรจะมีงบประมาณอย่างน้อย $25,000 โดยจะแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน 1) ค่าเล่าเรียน (Tuition) 2) ค่าที่พัก (Accommodation Fee) 3) ค่าใช้จ่ายประจำวัน (Cost of Living) จากนั้นลองคำนวนเป็นรายปีว่าอยู่ที่กี่เหรียญ US เพราะยอดค่าใช้จ่ายต่อปี (จะใกล้กับยอดที่ปรากฎใน I-20) ตรงนี้จะนำไปใช้เทียบกับยอดบัญชีฝากประจำควรมีอย่างน้อย 2 เท่าจากยอดค่าใช้จ่ายต่อปีและผู้ปกครองจะต้องขอหนังสือรับรองการเงินของบัญชีฝากประจำนี้จากธนาคารเพื่อใช้ยื่นพร้อมใบสมัครเข้าเรียนและนำมาใช้ในวันนัดสัมภาษณ์วีซ่านักเรียน (F-1)
ข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ
อีกหัวข้อที่สำคัญของการสมัครนักเรียนต้องส่งคะแนนสอบความรู้ภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ โดยทั่วไปโรงเรียนรับคะแนนสอบจาก iTEP Slate, ELTIS, TOEFL, ELTiS หรือ TOEFL Junior และแต่ละโรงเรียนอาจจะมีข้อกำหนดการทดสอบของตนเอง โดยทั่วไปคะแนนขั้นต่ำของแต่ละการทดสอบที่ใช้สมัคร
- 4.0 on the iTEP Slate
- 197-207 on the ELTIS
- 45 on the TOEFL
- 780 on the TOEFL Junior
- 222 on the ELTiS
หลังจากประมวลผลจากข้อมูลที่มีจนเลือกโรงเรียนที่ต้องการได้แล้วผู้ปกครองและนักเรียนสามารถสมัครผ่านโรงเรียนได้โดยตรงหรือสมัครผ่าน Education Agency ในประเทศไทยเอเจนซี่ด้านการศึกษาเหล่านี้ช่วยดูแลในหลายเรื่องอาทิเช่น การขอวีซ่า การติดต่อโรงเรียนในสหรัฐ การหาโรงเรียนที่เหมาะสม เป็นต้น ขั้นตอนจะเริ่มที่กรอกใบสมัครส่งไปพร้อมกับ Transcript, ใบรับรองสุขภาพ, หนังสือรับรองการเงินของ Sponsor คือพ่อ แม่ของนักเรียนหรือญาติ, Recommendation Letter 1-2 ฉบับจากครูผู้สอน (บางโรงเรียนไม่ต้องใช้), สลิปโอนเงินค่าใบสมัคร, ใบแสดงผลคะแนนทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ เป็นต้น หลังจากนั้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ โรงเรียนจะแจ้งผลว่ารับหรือไม่ ในกรณีรับเข้าเรียนทางโรงเรียนจะส่งเอกสารสำคัญมายังนักเรียนที่ประเทศไทยทางไปรษณีย์ เช่น จดหมายตอบรับเข้าเรียน, I-20 (ใบแสดงโค้ดของโรงเรียน, ระยะเวลาของการลงทะเบียนเรียน, ค่าใช้จ่ายต่อปี, ทีอยู่ของโรงเรียน), กำหนดการต่างๆของโรงเรียน, คู่มือนักเรียน, ใบแสดงค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยละเอียด เป็นต้น
มาถึงเรื่องวีซ่านักเรียน (F-1) เป็นวีซ่าสำหรับนักเรียนที่จะเดินทางเข้าไปเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ชั้นมัธยมปลายไปจนถึงมหาวิทยาลัยหรือเรียนวิชาภาษาอังกฤษตามสถาบันสอนภาษาในสหรัฐอเมริกา ขั้นตอนการขอวีซ่านักเรียนแบ่งเป็น 2 ส่วน
1) กรอกข้อมูลออนไลน์ DS-160 และจะต้องโหลดรูปถ่ายของนักเรียนลงในฟอร์มนี้ หลังจากนั้นก็ชำระค่าวีซ่า $160 ให้สถานทูตผ่านธนาคารกรุงศรีหรือผ่านธุรกรรมอีเลคโทรนิค เพิ่มเติมสำหรับวีซ่านักเรียน (F-1) คือต้องชำระค่า SEVIS จำนวน $350 โดยชำระผ่านที่นี่
2) เตรียมเอกสารที่ใช้ในวันสัมภาษณ์วีซ่า
- Passport ต้องมีอายุมากกว่า 6 เดือนนับจากวันที่จะเดินทาง
- FORM DS -160 และ ใบนัดสัมภาษณ์
- รูปถ่ายขนาด 2 * 2 นิ้วจำนวน 1 รูปฉากหลังสีขาวเท่านั้นไม่สวมแว่นและถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือนและนำไปวันสัมภาษณ์ 1 รูป
- จดหมายรับรองการเงินของธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ของผู้ออกค่าใช้จ่ายให้นักเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 1 ฉบับจากโดยยอดเงินจะต้องแสดงเป็น US dollar (ข้อแนะนำควรจะใช้บัญชีฝากประจำ) และมียอดเงินอย่างน้อย 2 เท่าตามยอดค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ปรากฏใน I-20
- I-20 ต้นฉบับที่ส่งมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
- ใบเสร็จชำระค่า SEVIS (เป็นเลขประจำตัวของนักเรียนโดยจะชำระผ่านเว็บไซต์)
- จดหมายตอบรับเข้าเป็นนักเรียนของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่นักเรียนสมัครเรียน (Welcome Letter)
- ใบรับรองความป็นนักเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 1 ฉบับจากโรงเรียนต้นสังกัด
- ใบแสดงผลการเรียนภาษาอังกฤษ 3 ปีการศึกษาย้อนหลัง (Transcript)
- สำเนาสูติบัตร(กรณีอายุต่ำกว่า18ปี)
- สำเนาทะเบียนบ้านของนักเรียนและพ่อแม่, สำเนาบัตรประชาชนของพ่อและแม่
- สำเนาทะเบียนสมรสของพ่อแม่ (กรณีสมรสแล้ว)
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล ของนักเรียน, พ่อ, แม่ (กรณีที่เคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล)
- หนังสือรับรองการทำงาน (ตำแหน่ง, เงินเดือน) ของผู้ออกค่าใช้จ่าย (ในกรณีผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนธุริกจของกรมพัฒนาธุรกิจ (ในกรณีผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นเจ้าของกิจการและมีชื่อเป็นกรรมการ)
เมื่อถึงวันสัมภาษณ์ให้นำเอกสารดังกล่าวไปสถานทูตตามวันและเวลาที่จองไว้ ถึงเวลาสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่จะถามเป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับตัวนักเรียนและครอบครัวเช่น พ่อแม่ทำงานอะไรหรือทำไมถึงอยากไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นจะขอดูเอกสารที่เราเตรียมไป เสร็จขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่จะแจ้งทันทีว่าผ่านหรือไม่ผ่าน กรณีผ่านเจ้าหน้าที่จะเก็บ Passport ของนักเรียนไปทำหน้าวีซ่าประทับบน Passport หลังจากนั้นสถานทูตจะส่ง Passport คืนทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่กรอกไว้ภายใน 3-5 วัน หากไม่ผ่านเจ้าหน้าที่จะคืนเอกสารทั้งหมดพร้อม Passport และแนบใบตอบปฏิเสธวีซ่ามา 1 ฉบับ
เฉพาะกรณีที่วีซ่าผ่านว่าต้องเตรียมตัวในลำดับต่อไปอย่างไร สำคัญที่สุดนักเรียนควรจะต้องเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษให้ดีที่สุด เพราะจะต้องไปเรียนในชั้นเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักไม่มีภาษาอื่น ส่วนเรื่องประวัติทางการแพทย์นักเรียนอาจจะต้องไปฉีดวัคซีนเพิ่มเติมตามที่โรงเรียนกำหนดไว้ และก่อนเดินทางประมาณ 2 เดือนควรจัดหาตั๋วเครื่องบินโดยซื้อแบบระยะยาว 6 เดือน หรือ 1 ปีและท้ายสุดขอนักเรียนตั้งใจทำให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ในการไปเรียนครั้งนี้ เหมือนเรามีความฝันว่าอยากไป เรียนต่อมัธยมปลาย High School เราต้องมีความพยายามจะทำให้ความฝันนั้นเป็นจริง
แหล่งค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม CONTACT US High School CSIET(นักเรียนแลกเปลี่ยน) US VISA